เมนู

อรรถกถาอทันตวรรคที่ 4



อรรถกถาสูตรที่ 1



วรรคที่ 4 สูตรที่ 1

มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อทนฺตํ ได้แก่ มีการเสพผิด (คือมีพยศ) เหมือนช้าง
และม้าเป็นต้น ที่มิได้ฝึก บทว่า จิตฺตํ ได้แก่จิตที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจ
วัฏฏะ

จบ อรรถกถาสูตรที่ 1

อรรถกถาสูตรที่ 2



ในสูตรที่ 2 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ทนฺตํ ได้แก่ หมดพยศ คือเป็นเสมือนช้างและม้า
เป็นต้นที่ฝึกแล้ว ในสูตรทั้ง 2 นี้ ท่านกล่าวเฉพาะจิตที่เกิดขึ้นด้วย
อำนาจวัฏฏะ และวิวัฏฏะ ก็ในสูตรนี้ฉันใด แม้ในสูตรอื่น ๆ จากสูตรนี้
ก็ฉันนั้น.

จบ อรรถกถาสูตรที่ 2

อรรถกถาสูตรที่ 3



ในสูตรที่ 3 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อคุตฺตํ ได้แก่ ไม่คุ้มครอง คือเว้นจากสติสังวร เป็น
เสมือนช้างและม้าที่ไม่คุ้มครอง (คือไม่มีคนเลี้ยง) ฉะนั้น.

จบ อรรถกถาสูตรที่ 3

อรรถกถาสูตรที่ 4



ในสูตรที่ 4 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า คุตฺตํ ได้แก่ คุ้มครองแล้ว คือไม่ปล่อยสติสังวร เป็น
เสมือนช้างและม้าเป็นต้น ที่ได้คุ้มครองแล้ว.

จบ อรรถกถาสูตรที่ 4

อรรถกถสูตรที่ 5 - 6



ในสูตรที่ 5 - 6 ท่านกล่าวตามอัธยาศัยของสัตว์ผู้จะตรัสรู้
ด้วยอำนาจบทว่า อรกฺขิตํ ก็อรรถในบทนี้ เหมือนบทก่อนนั่นแล.

จบ อรรถกถาสูตรที่ 5 - 6